โครงการประสานใจต้านอัคคีภัย 90 โรงเรียน

 รายละเอียดโครงการ ประสานใจ ต้านอัคคีภัย 90 โรงเรียน

 

 

หลักการและเหตุผล

จากเหตุการณ์เพลิงไหม้หอเรือนนอนในเหตุการณ์ในคืนวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2559 ในอาคารหอพักเด็กผู้หญิงของสถานสงเคราะห์บ้านเด็กรวมใจ ซึ่งตั้งอยู่เขตเทศบาลตำบลเวียงป่าเป้าเป็นเหตุทำให้เสียชีวิตถึง 17ราย และบาดเจ็บอีกหลายสิบราย แต่มีเด็กบางคนที่ลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำในช่วงที่เกิดเหตุเพลิงไหม้สามารถหนีรอดชีวิตจากเพลิงไหม้ได้ และยังมีอีกหลายเหตุการณ์ที่เกิดที่เกิดไฟไหม้ สาเหตุการเกิดเพลิงไหม้ส่วนใหญ่จะเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร ไฟรั่วและขาดตรวจสอบบริภัณฑ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย รวมถึงการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่มีมาตรฐาน แต่มูลเหตุที่ทำให้คนเสียชีวิตจากเหตุการณ์เพลิงไหม้ส่วนใหญ่จะเกิดจากการสูดดมก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ในขณะที่หลับนอน กล่าวคือ เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ คนที่นอนหลับไม่มีสติตื่น มาดับไฟหรือหนีไฟได้ ดังนั้น หากเรือนนอนดังกล่าวติดตั้งอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ ชนิดควัน (smoke alarm) อุปกรณ์นี้จะแจ้งเสียงเตือนให้คนที่นอนหลับลุกขึ้นมา ตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้ทันท่วงทีและลดการสูญเสียได้ในที่สุด

จากสภาพอาคารเรือนนอนในโรงเรียนที่มีภาพแบบสถานสงเคราะห์บ้านเด็กรวมใจ หรือแย่กว่า ในประเทศไทยมีมากว่าหลายร้อยโรงเรียน นั่นคือมีสภาพที่เสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์ และที่สำคัญอาคารดังกล่าวยังไม่มีงบในการปรับปรุงให้มีสภาพที่ปลอดภัยในเร็ววันนี้

สมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคาร ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและสมาคมวิชาชีพวิศวกรรมและองค์กรที่เกี่ยวข้องได้จัดทำโครงการประสานใจ ต้านอัคคีภัย 90 โรงเรียน เพื่อนำร่องรณรงค์สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยให้เกิดความปลอดภัยอาคาร โรงเรียนกินนอนและหอพัก โดยจะมีวิศวกร-ผู้ตรวจสอบอาสาลงพื้นที่ให้บริการแนะนำและตรวจสอบความปลอดภัยด้านระบบไฟฟ้า ตรวจสอบความปลอดภัยด้านอัคคีภัย แบบตรวจสอบก่อนเข้านอนพร้อมทั้งติดตั้งอุปกรณ์แจ้งภัย (Smoke alarm) และถังดับเพลิงให้กับโรงเรียนที่ร่วมโครงการตลอดจนให้นักเรียนเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ เพื่อร่วมกันป้องกันการเกิด เหตุเพลิงไหม้ต่อไป.

 

เป้าหมาย

ตรวจสอบสภาพระบบไฟฟ้า ติดตั้งอุปกรณ์แจ้งเพลิงเพลิงไหม้ (smoke alarm) และถังดับเพลิง90 โรงเรียน ที่เข้าร่วมโครงการ

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเป็นการป้องกันการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินจากอัคคีภัย
  2. เพื่อสร้างความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยต่อครู นักเรียน ผู้พักอาศัย
  3. เพื่อลดอัตราการเสี่ยงต่อการเกิดเหตุอัคคีภัย
  4. เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดจากระบบไฟฟ้า ไฟรั่ว
  5. เพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย ปลูกฝังจิตสำนึกให้ตั้งแต่วัยเด็ก
  6. เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับบ้านและที่พักอาศัย โรงเรียนคำนึงถึงการป้องกันอัคคีภัย
  7. เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของที่พักอาศัย ได้แก่ ความปลอดภัยทางไฟฟ้าและอัคคีภัย เป็นต้น
  8. ทำให้เกิดแบบอย่าง โรงเรียน ที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัย

 

คุณสมบัติของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ

  1. โรงเรียนกินนอน ในกทม.และต่างจังหวัด
  2. โรงเรียนหรือสถานสงเคราะห์ที่ขาดแคลนงบประมาณ

 

วิธีการดำเนินการ

  1. จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อกำหนดเกณฑ์การรับพิจารณาโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ
  2. ประกาศรับบริจาค Smoke alarm และถังดับเพลิง หรือเงินบริจาค หรือสนับสนุนการจัดงานโบว์ลิ่ง หรือเป็นผู้สนับสนุน Package A Package
  3. ประกาศรับสมัครวิศวกร-ผู้ตรวจสอบอาสา
  4. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ
  5. ดำเนินการประสานงานและจัดสรรวิศวกร-ผู้ตรวจสอบอาสาลงพื้นที่

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ

  1. สมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคาร
  2. องค์กรภาครัฐการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.)ทำโครงการพิเศษจัดหาทุนในการทำงานสนับสนุนการอนุญาตให้ใช้โลโก้ตลอดโครงการ
  3. สมาคมวิชาชีพวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานไฟฟ้าและการป้องกันอัคคีภัยเช่นสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์  สมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย สมาคมวิศวกรที่ปรึกษาเครื่องกลและไฟฟ้าไทย สมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทยให้การสนับสนุนการอนุญาตให้ใช้โลโก้ตลอดโครงการ

 

 

คณะกรรมการโครงการ

 

  1. นายพิชญะ       จันทรานุวัฒน์                          ประธาน
  2. นางสาวบุษกร      แสนสุข                               กรรมการ
  3. นายวิเชียร         บุษยบันฑูร                            กรรมการ
  4. ผศ.ชายชาญ       โพธิสาร                               กรรมการ
  5. นายธวัช           มีชัย                                    กรรมการ
  6. นายกิตติ           สุขุตมตันติ                            กรรมการ
  7. นายเตชทัต         บูรณะอัศวกุล                       กรรมการ
  8. นายเลิศชาย        พาชีรัตน์                             กรรมการ
  9. นายธัมรัต          พรหมเพ็ญรังษี                       กรรมการ
  10. นายรณรงค์       กระจ่างยศ                           กรรมการ
  11. นายปิติ            อนนตพันธ์                           กรรมการ
  12. ดร.พงศ์ธร        ธาราไชย                              กรรมการ
  13. นายกฤษดา       ทรัพย์ทวยชน                       กรรมการ
  14. นายสุรเชษฐ์      สีงาม                                 กรรมการ
  15. นายสุวัฒน์        บุญศักดิ์สกุล                         กรรมการ
  16. นายพิชัย                   สีห์โสภณ                    กรรมการ
  17. ตัวแทนจากการไฟฟ้านครหลวง                        กรรมการ
  18. ตัวแทนจากการไฟฟ้าภูมิภาค                           กรรมการ
  19. ตัวแทนกรมโยธาธิการและผังเมือง                      กรรมการ
  20. ตัวแทนจากกรมประชาสัมพันธ์                          กรรมการ
  21. ตัวแทนสำนักมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.)           กรรมการ
  22. ตัวแทนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย           กรรมการ
  23. ตัวแทนสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร               กรรมการ
  24. ตัวแทนสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม.  กรรมการ
  25. นายวสวัตติ์ กฤษศิริธีรภาคย์                             เลขาธิการโครงการ

 

คณะที่ปรึกษา

  1. นายฉัตรชัย        พรมเลิศ          ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์        รอยืนยัน
  2. นายไทวุฒิ          ขันแก้ว 
  3. ดร.กมล             ตรรกบุตร
  4. นายประสิทธิ์       เหมวราพรชัย
  5. นายประสงค์       ธาราไชย
  6. ร้อยโทวโรดม       สุจริตกุล
  7. ศ.ดร.อมร           พิมานมาศ
  8. นายเกชา           ธีระโกเมน
  9. ผศ.ดร.อุทัย         ไชยวงค์วิลาน
  10. นายลือชัย        ทองนิล
  11. นายอุทิศ          จันทร์เจนจบ
  12. นายสุจิ            คอประเสริฐศักดิ์
  13. ผศ.ชลชัย         ธรรมวิวัฒนุกูร
  14. นายธเนศ         วีระศิริ
  15. นายกิตติ         วิสุทธิรัตนกุล
  16. นายชัชวาลย์     คุณค้ำชู
  17. นายกิตติพงษ์     วีระโพธิ์ประสิทธิ์

 

ภาพลงพื้นที่ดำเนินกิจกรรม